กองรักษาการณ์

กองรักษาการณ์

กองรักษาการณ์  คือ  ทหารส่วนหนึ่งที่ผู้บังคับบัญชาตั้งขึ้น  เพื่อรักษาบุคคลสำคัญของประเทศ  สถานที่และสิ่งของสิ่งต่าง ๆ  ของทางราชการ

ความมุ่งหมายในการจัดตั้งกองรักษาการณ์

  1. ป้องกันรักษาบุคคลสำคัญของประเทศ
  2. รักษาสถานที่  และของสำคัญอันเป็นสมบัติของรัฐบาล
  3. รักษานักโทษที่ต้องคุมขัง
  4. หัดให้ทหารคุ้นเคยกับความลำบากตรากตรำในเวลาปกติ
  5. หัดให้ทหารใช้ความคิดของตนรับผิดชอบปฏิบัติการ
  6. รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน  และภายนอกโรงทหาร

ประเภทกองรักษาการณ์

  1. กองรักษาการณ์ภายใน  คือ  ทหารส่วนหนึ่งที่ผู้บังคับบัญชาจัดตั้งขึ้นเพื่อระวังรักษาความสงบเรียบร้อย  และสิ่งของต่าง ๆ  ภายในบริเวณโรงทหารโดยเฉพาะ  ผู้มีอำนาจสั่งตั้เงกองรักษาการณ์ภายใน  คือผู้บังคับบัญชา  ตั้งแต่  ผบ.พัน  ขึ้นไป
  2. กองรักษาการณ์ภายนอก  คือ  ทหารส่นหนึ่งที่มีบังคับบัญชาจัดตั้งขึ้น้พื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสถานที่และบุคคลที่สำคัญภายนอกบริเสณโรงทหาร

ผู้มีอำนาจตรวจระเบียบรักษาการณ์ได้  มีดังนี้

  1. ผู้มีอำนาจสั่งกองรักษาการณ์  และผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปจนถึง  รมต.กลาโหม
  2. ผู้บังคับบัญชาทหารที่เข้ากระทำกิจรักษาการณ์นับตั้งแต่  ผบ.พันขึ้นไป
  3. เสนาธิการทหารบก
  4. นายทหารที่ได้รับมอบให้มาตรวจกิจรักษาการณ์แทนผู้บังคับบัญชาโดยมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

กองรักษาการณ์จะต้องเรียกแถว  เมื่อ

  1. เปลี่ยนกองรักษาการณ์
  2. มีความไม่สงบเกิดขึ้นใกล้ ๆ  กองรักษาการณ์
  3. ทำความเคารพ
  4. ผู้บังคับบัญชามาตรวจและตามคำสั่งผู้มีอำนาจตรวจกิจรักษาการณ์

หน้าที่ทหารในกองรักษาการณ์  มี

  1. ร้องรำทำเพลงไม่ได้
  2. นอนตามที่ของตน
  3. ดื่มเครื่องดองของเมาไม่ได้
  4. ถอดเครื่องแบบไม่ได้
  5. ได้ยินเสียงเรียกแถวต้องรีบมาเข้าแถว
  6. เห็นเพื่อนทำผิดข้อบังคับ  ต้องรีบตักเตือน  หรือรายงานทันที
  7. ฟังคำสั่งคนอื่นไม่ได้นอกจากผู้บังคับบัญชาของตนในขณะเป็นยามรักษาการณ์
  8. ยืนสง่าผ่าเผย  ไม่ยืนพิงหรือเท้าปืน
  9. ต้องยอมตายอยู่กับที่ละทิ้งหน้าที่ไม่ได้เลย
  10. จะเปลี่ยนหน้าที่ได้เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
  11. ระหว่างที่ยืนยามจะกินอะไรไม่ได้
  12. ไม่ปล่อยอาวุธออกห่างตัว  นอกจากผู้บังคับบัญชาสั่ง
  13. ห้ามคุย  อนุญาตแต่การไต่ถามหน้าที่  ห้ามกิน  ดื่ม  รับเงิน  สูบบุหรี่
  14. ห้ามปรามใคร  ต้องเด็ดขาด  แต่สุภาพฉะฉานไม่หยาบคาย
  15. จะเข้าตู้ยามได้เมื่อฝนตก
  16. ต้องคอยสังเกตคนที่ผ่านไปมาใกล้กองรักษาการณ์  ถ้าเห็นผิดปกติอาจเรียกตัวเข้ามาซักถามได้
  17. หากมีเหตุการณ์อันก่อให้เกิดการไม่สงบขึ้น  จะต้องรีบติดต่อให้  ผบ.กองรักษาการณ์ทราบโดยเร็ว  หากเป็นการด่วนอาจเรียกแถวได้
  18. เมื่อมีรถยนต์มาหยุดใกล้กองรักษาการณ์  ต้องระมัดระวังอย่างกวดขัน  อาจเรียกให้หยุดและตรวจได้
  19. ทหารมีสิทธิที่จะว่ากล่าว  ห้ามปราม  จับกุม  หรือถ้าจำเป็นก็ใช้อาวุธได้
  20. ผู้ใดจะทำร้ายหรือหมิ่นประมาทจะได้รับโทษหนัก  แม้แต่ล้อเลียนก็ไม่ได้
  21. จะออกจากกองรักษาการณ์  ต้องขออนุญาต  ผบ.รักษาการณ์  หรือผู้ช่วย  ผบ.รักษาการณ์

หน้าที่ของนายยามมีดังนี้

  • เป็นผู้ควบคุมยาม
  • ต้องทราบว่าในผลัดของตนมีใครเป็นลูกยามบ้าง
  • เมื่อถึงเวลาก็นำลูกยามไปเปลี่ยน
  • ดูแลรับส่งระหว่างยามเก่ากับยามใหม่ให้เรียบร้อย

ใส่ความเห็น